วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา

                                             วันสำคัญทางศาสนา

                                  วันมาฆบูชา



          วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม

มาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน3 ถือว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ

1. พระสงฆ์จำนวน 1250 ซึ่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ ได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

2. พระสงเหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น แลได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง การบวชชนิดนนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา

3. พระสงฆ์จำนวน 1250 ได้เดินทางมาประชุมพร้อมกันโดยมได้นัดหมาย

4. วันที่มาประชุมกันตรงกับวันเพ็ญเดือน มาฆะ (วันเพ็ญเดือน3) ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ประการได้แก่ 1. ละเว้นความชั่วทั้งปวง 2. ทำความดีให้ถึงพร้อม 3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

การละเล่นของไทย เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

                                               การละเล่นของไทย

                                      เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ



 "เล่นซ่อนหา" หรือ "โป้งแปะ" เป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยังได้รับความนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย เพราะกติกาง่าย แถมสนุก และต้องมีการกำหนดอาณาเขต เพื่อไม่ให้กว้างจนเกินไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นซ่อนหาให้เห็นกันอยู่


ประเพณีชักพระ

                                                    ประเพณีไทย
                                 ประเพณีชักพระ

          ลากพระหรือชักพระ หรือแห่งพระ เป็นประเพณีของชาวภาคใต้ ที่ปฏิบัติมา ตั้งแต่โบณาณ ประเพณีลากพระ เล่ากันมาเป็นเชิงพุทธตำนานว่า หลังจาก พระพุทธองค์ทรงพระทำปาฏิหาริย์ปราเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง (ที่จริงเป็นใต้ต้นมะม่วง ชื่อ คัณฑามพ์ แปลว่า ต้นมะม่วงที่นายคัณฑะปลูก) กรุงสาวัตถีก็เป็นฤดูพรรษาพอดี พระองค์เสด็จจากมนุษยโลก ไปจำพรรษา  ณ ดาวดึงส์ ด้วยพระประสงค์จะแสดงธรรม โปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นอุบัติ (เกิด) เป็นเทพบุตรสถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพ (เหตุที่ทรงใช้ดาวดึงส์ เนื่องจากพระองค์มีพระประสงค์ จะโปรดเทพชั้นต่ำกว่าด้วย เพราะหากไปโปรดพุทธมารดาที่ดุสิต เทพชั้นต่ำกว่าจะขึ้นไปไม่ได้ แต่เทพชั้นสูงกว่า ลงมาชั้นต่ำกว่าได้ เปรียบเหมือนคนธรรมดาจะเข้าวังไม่ได้ แต่พระราชเสด็จออกมา ฟังธรรมกับคนธรรมดาได้) พระองค์โปรดพุทธมารดาจนสิ้นสมัยพรรษา (ออกพรรษา) แล้วเสด็จกลับมนุษยโลก ณ เมืองสังกัสสะนคร ในวันขึ้น 15 เดือน 11



ประเพณีลากพระบก
     การที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ดังกล่าว ทำให้ชาวเมือง มีความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการแสดงถึงความปีติยินดี ชาวเมือง จึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับ ของพระพุทธองค์  จากเหตุการณ์ครั้งนั้น จึงถือกันมา เป็นประเพณีลากพระ หรือชักพระ หรือแห่พระสืบมา ครั้นเลยพุทธกาล และเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชน จึงนำเอาพระพุทธรูปมาแห่งแหนสมมติแทนพระพุทธองค์

    มีผู้สันนิษฐานว่า ประเพณีลากพระ เกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามลัทธิ หรือศาสนาพราหมณ์ ที่นิยมเอาเทวรูปออกแห่แหนในโอกาสต่าง ๆ  โดยชาวพุทธ ได้นำเอาประเพณีของศาสนาพราหมณ์ มาดัดแปลงให้ต้องกับคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ประเพณีนี้ จึงมีมาช้านานแล้วในประเทศอินเดีย ต่อมาได้ถ่ายทอดมายังประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ ได้รับเอาประเพณีนี้เข้ามาถือปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง


ประเพณีลากพระน้ำ

     การที่เกิดประเพณีลากพระขึ้นในภาคใต้ และกลายเป็นประเพณีสำคัญสืบมานั้น ซึ่งจะเนื่องด้วยพุทธตำนานและลัทธิศาสนาพราหมณ์ แล้วยังสันนิษฐานว่า น่าจะมี คตินิยมดั้งเดิมอย่างอื่นเป็นพื้นฐานอยู่ด้วย กล่าวคือ ในเดือน 11 นั้น เป็นที่ภาคใต้ กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพการเกษตร สิ่งปรารถนาที่พ้องกัน จึงได้แก่การขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  งานลากพระจึงมุ่งขอฝน เพื่อการเกษตร จนเกิดเป็นคติความเชื่อว่า การลากพระทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
ประเพณีไทย
วันสารทเดือนสิบ


             การทำบุญวันสารทเดือนสิบ  หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้นในเดือนสิบ(กันยายน) มีการทำบุญที่วัด 2 ครั้ง
        ครั้งแรก  วันแรม  1 ค่ำ  เดือนสิบเรียกว่า  วันรับเปรต
       ครั้งที่สองวันแรม  15  ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า  วันส่งเปรต
การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และ  รู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น

      ขนมเดือนสิบ  จัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบ  ที่จำเป็นมี  5  อย่าง คือ


1.ขนมลา     เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม

2.ขนมพอง  เป็นสัญลักษณ์แทนแพ  สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง

3.ขนมกง    ( ขนมไข่ปลา )  เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ

4.ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหูหรือขนมเบซำ  เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย

5. ขนมบ้า   เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า  สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์

คุณธรรมและจริยธรรมความเป็นครู


คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

              

                 ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
          อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า "ความหมายของครูตามรูปแบบ"
                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ